ฟ้อนกะโป๋

ฟ้อน

กะลาาาาา

กะโป๋ คือกะลามะพร้าว ชาวอีสานรู้จักการใช้ประโยชน์จากกะลามะพร้าวมาเป็นวัสดุและอุปกรณ์ที่ใช้ใน ชีวิตประจำวัน เช่น กระบวยตักน้ำ และสามารถทำเป็นเครื่องดนตรี เช่น พิณกระแสเดียว และซอของชาวอีสานใต้ เป็นต้น

ฟ้อนกะโป๋ เป็นการแสดงที่ได้ดัดแปลงมาจากการละเล่นของชาวอีสานใต้ ซึ่งได้แก่ในบริเวณจังหวัด สุรินทร์ บุรีรัมย์ และศรีสะเกษ เป็นการแสดงที่มีความสนุกสนานรื่นเริง โดยใช้กะลาที่ขัดผิวจนมันเป็นอุปกรณ์หลักในการประกอบจังหวะ และที่น่าสังเกตคือ ประเทศต่างๆในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น ฟิลิปปินส์  อินโดนีเซีย กัมพูชา และมาเลเซีย ก็มีการละเล่นเกี่ยวกับการเคาะกะลาเช่นเดียวกัน

ฟ้อนกะโป๋ในแบบฉบับวิทยาลัยนาฏศิลปร้อยเอ็ด ได้นำการแสดงชุด ระบำกะลา ของชาวอีสานใต้มาดัดแปลงให้เป็นรูปแบบนิยมของอีสาน เนื่องจากว่า ระบำกะลา มีจังหวะและท่วงทำนองท่าช้าเนิบนาบ จึงได้แต่งดนตรีขึ้นใหม่ให้มีจังหวะที่สนุกสนานยิ่งขึ้น โดยนำเอาแต่งลายดนตรีมาผสมกับลายเพลงพื้นเมืองอีสานใต้ ได้แก่ ทำนองเจรียงซันตรู๊จน์ จนได้ทำนองเพลงที่เป็นลักษณะเฉพาะในการแสดงชุด “ฟ้อนกะโป๋”

การแต่งกาย
– หญิง สวมเสื้อแขนกระบอก ใช้สไบขิดเฉียงไหล่ซ้ายแล้วไปมัดที่เอวด้านขวา นุ่งโจงกระเบน มีผ้าผืนยาวมัดเอว ผมเกล้ามวยประดับดอกไม้ สวมเครื่องประดับเงินประเกือม
– ชาย สวมเสื้อผ้าแพรแขนสั้น นุ่งโจงกระเบน ใช้ผ้าสไบขิดพาดไหล่ มีผ้าผืนยาวมัดเอว สวมสร้อยคอและกำไลเงิน

(*ปัจจุบัน วิทยาลัยนาฏศิลปร้อยเอ็ดมีความเห็นควรว่า คำว่า”เซิ้ง”ไม่ได้มีความหมายถึงการฟ้อนรำของชาวอีสาน เพราะ เซิ้ง คือการขับกาพย์ ซึ่งมักจะมีการฟ้อนประกอบด้วย ไม่นับเป็นการร่ายรำ ดังนั้น จึงได้บัญญัติคำว่า “ฟ้อน” ซึ่งเป็นคำที่ใช้เรียกกริยาการฟ้อนรำของชาวอีสาน
ชุดการแสดงใดๆที่เคยเรียกว่า เซิ้ง ก็เปลี่ยนมาเป็น ฟ้อน เช่น เซิ้งแหย่ไข่มดแดง เปลี่ยนเป็น ฟ้อนแหย่ไข่มดแดง ยกเว้น เซิ้งบั้งไฟและเซิ้งนางด้ง เพราะเป็นการแสดงเซิ้งอย่างตรงตัวอยู่แล้ว )

ไลลลล

ใส่ความเห็น