มะพร้าวพันธุ์มลายูสีเหลืองต้นเตี้ย

มะพร้าวมลายู

 

10         เนื่องจากการปลูกมะพร้าวเพื่อเก็บผลผลิตขายจะให้รายได้ต่ำ ไม่เป็นแรงจูงใจให้เกษตรกรบำรุงรักษาสวนมะพร้าว เกษตรกรชาวสวนมะพร้าวจำนวนมากเปลี่ยนไปปลูกพืชอื่นที่ให้ผลตอบแทนสูงกว่า ถ้าเกษตรกรหันมาปลูกมะพร้าวกะทิจะมีรายได้สูงกว่ามะพร้าวธรรมดา 3 – 5 เท่า ดังนั้น สถาบันวิจัยพืชสวนจึงได้ทำการปรับปรุงพันธุ์มะพร้าวกะทิ ตามขั้นตอนการปรับปรุงพันธุ์ เริ่มตั้งแต่การศึกษาลักษณะประจำพันธุ์ การผสมข้ามพันธุ์ การศึกษาการเจริญเติบโตของต้นกล้าพันธุ์ลูกผสม การเปรียบเทียบพันธุ์ และการคัดเลือกพันธุ์ทั้งด้านผลผลิตและคุณภาพ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2538–2548 จากสวนผลิตพันธุ์มะพร้าวคันธุลี ที่ศูนย์วิจัยยางสุราษฏร์ธานี อำเภอท่าชนะ จังหวัดสุราษฏร์ธานี ซึ่งได้สร้างสวนมะพร้าวไว้ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2517 และได้ทำการปลูกต้นแม่พันธุ์ ได้แก่ พันธุ์น้ำหอม พันธุ์ทุ่งเคล็ด พันธุ์มลายูสีเหลืองต้นเตี้ย และพันธุ์มลายูสีแดงต้นเตี้ย พันธุ์มลายูสีเหลืองต้นเตี้ยและสีแดงต้นเตี้ยนี้ นำเข้ามาจากประเทศมาเลเซีย และพันธุ์เวสท์แอฟริกันต้นสูง นำเข้ามาจากประเทศไอวอรี่โคสท์ สำหรับพันธุ์มะพร้าวกะทิที่ใช้เป็นต้นพ่อพันธุ์ เพื่อเก็บดอกเกสรตัวผู้มาผลิตละอองเกสร ได้รับความเอื้อเฟื้อจากบริษัทอุติ เมล็ดพันธุ์ปาล์ม จำกัด อนุญาตให้สถาบันวิจัยพืชสวนไปทำการศึกษาและคัดเลือกพันธุ์มะพร้าวกะทิ สำหรับใช้เป็นต้นพ่อพันธุ์ เพื่อปรับปรุงพันธุ์หรือสร้างลูกผสมมะพร้าวกะทิ จากการศึกษาค้นคว้า พบว่า มะพร้าวกะทิลูกผสมระหว่างน้ำหอม x กะทิ (NHK) และมลายูสีเหลืองต้นเตี้ย x กะทิ (YDK) เป็นพันธุ์ที่มีลักษณะที่ดี จึงนำเสนอให้กรมวิชาการเกษตรพิจารณาเพื่อรับรองเป็นพันธุ์แนะนำ

ไลลลล

 

ใส่ความเห็น