การปลูกมะพร้าว

การปลูก

การปลูก

1. เตรียมพื้นที่ โดยไถแปร ไถพรวน ชักร่อง ใช้ระยะ 3×2 เมตร แล้วหว่านเมล็ดพืชตระกูลถั่ว เช่น ถั่วเขียว ฯลฯ เพื่อปรับปรุงคุณภาพดิน และเพิ่มปุ๋ยอินทรีย์ให้กับดินในราคาถูกที่สุด 2. เตรียมผลพันธุ์มะพร้าว ที่จะปลูกโดยใช้พันธุ์มะพร้าวใหญ่ หรือมะพร้าวน้ำหอมก็ได้ แล้วแต่เกษตรกรที่จะสามารถหาพันธุ์ได้ในราคาถูก หรือในสวนของเกษตรมีพันธุ์มะพร้าวอะไร ก็สามารถปลูกได้
2. เตรียมผลพันธุ์มะพร้าว ที่จะปลูกโดยใช้พันธุ์มะพร้าวใหญ่ หรือมะพร้าวน้ำหอมก็ได้ แล้วแต่เกษตรกรที่จะสามารถหาพันธุ์ได้ในราคาถูก หรือในสวนของเกษตรมีพันธุ์มะพร้าวอะไร ก็สามารถปลูกได้

1

           ภาพที่ 1 ก่อนคิดปลูกมะพร้าวเพื่อตัดยอดควรเตรียม ผลพันธุ์ก่อน โดยเฉพาะช่วงที่ผลมะพร้าวราคาถูก ประมาณเดือน เมย.-พค. นำมาปาดหัวแล้วให้น้ำเช้า เย็น ทุกวัน ประมาณ 2 เดือน มะพร้าวจะงอก

2

ภาพที่ 2 ผลพันธุ์มะพร้าวที่พร้อมที่จะปลูกคือมีใบ 4-6 ใบ

3. ระยะปลูก 3×2 เมตร คือ ปลูกไร่ละ 270 ต้น หรือ ถ้าจะปลูกระยะ 2×2 เมตร ได้ไร่ละ 400 ต้น ซึ่งต้องเตรียมชักร่อง 2×2

3

ภาพที่ 3 ไถแปร ไถพรวน แล้วชักร่องขนาด 3×2 เมตร

4. การให้น้ำ ต้องให้น้ำมะพร้าวอย่างสม่ำเสมอทุก 2 สัปดาห์ – 3 สัปดาห์ แล้วแต่สภาพพื้นที่ คือ อย่างให้ดินแห้ง

4
ภาพที่ 4 ปลูกมะพร้าว ขนาด 3×2 เมตร โดยปลูกข้างร่องน้ำเพื่อกล้ามะพร้าวจะได้น้ำอย่างเต็มที่

5. การให้ปุ๋ย ใส่ปุ๋ยทุก 2 เดือน โดยใช้สูตร 15-15-15 และปุ๋ยอินทรีย์ เช่น ขี้วัว ขี้หมู ก็จะทำให้มะพร้าวเติบโตแข็งแรงได้ดีอย่างน้อยปีละครั้ง

5

ภาพที่ 5 แปลงปลูกมะพร้าว อายุ 6 เดือน

6. การปลูกพืชแซมในสวนมะพร้าว ก็ย่อมทำได้ ทำให้มีรายได้เสริมในช่วงที่ยังไม่ตัดยอดมะพร้าวและเป็นผลดีต่อมะพร้าวเพราะจะต้องดูแลรักษาให้น้ำและปุ๋ย พืชแซม เช่น ข่า เผือก ฯลฯ ก็จะมีผลดีกับต้นมะพร้าวด้วย

6

ภาพที่ 6 แปลงปลูกมะพร้าว อายุ 6 เดือน และแซมด้วยข่าและเผือก

7. การเก็บเกี่ยว พอมะพร้าวตั้งสะโพกอายุปลูกประมาณ 1 ปี 8 เดือน – 2 ปี ก็สามารถตัดยอดขายได้ ซึ่งถ้าดูแลรักษาอย่างดี มะพร้าวจะมีน้ำหนัก 10-20 กิโลกรัม/ยอด

7

ภาพที่ 7 แปลงปลูกมะพร้าวที่มี อายุ 1 ปี

8

ภาพที่ 8 ต้นมะพร้าวที่จะตัดยอด คือ เริ่มตั้งสะโพกมีอายุ 1 ปี 8 เดือน – 2 ปี

9

ภาพที่ 9 ยอดมะพร้าวที่พร้อมจะขายส่งตลาดท้องถิ่นหรือส่งตามร้านอาหาร

10

ภาพที่ 10เมื่อตัดยอดมะพร้าวขายแล้วประมาณ 2 เดือนลำต้นที่เหลืออยู่จะย่อยสลายไปไม่มีผลต่อดินและสามารถปลูกพืชแซมเสริมต่อไปได้เลย

การใส่ปุ๋ย

     การใส่ปุ๋ยให้กับมะพร้าวที่เริ่มปลูกใหม่ ควรใส่เมื่อมะพร้าวมีอายุ 6 เดือน หรือใบยอดเริ่มคลี่ออกหลังจากลงปลูกใส่ปุ๋ยปีละ 2 ครั้ง ปุ๋ยที่ใส่อาจใช้ได้ ทั้งปุ๋ยมูลสัตว์ และปุ๋ยเคมี ปุ๋ยมูลสัตว์พวกมูลวัว มูลควาย ควรใส่ต้นละ 2 ปี๊บต่อปี  มูลเป็ด มูลไก่ ควรแบ่งใส่ 2 ครั้งๆละ 1 ปี๊บ การใส่ปุ๋ยเคมี แบ่งใส่ทุก 6 เดือน  ตอนฝนเริ่มตกไปสัก 2-3 ครั้ง ในขณะที่ดินมีความชื้นประมาณเดือนพฤษภาคมหรือมิถุนายน ครั้งที่ 2 ตอนปลายฝน หลังจากฝนตกหนักระหว่างเดือนตุลาคมถึงเดือนธันว่าคม แล้วแต่ฤดูกาลของแต่ละแห่ง ปุ๋ยเคมีที่แนะนำให้ใช้เป็นปุ๋ยผสม 13:13:21  รวมกับปุ๋ยแมกนีเซียมซัลแฟต หรือหินปูนโดโลไมท์

จำนวนปุ๋ยและอายุที่ใช้ ดังตาราง

อายุมะพร้าว       ปุ๋ยผสม13:13:13   ปุ๋ยแมกนีเยมซัลแฟต   หรือหินปูนโดโลไมท์

ปี                                      (กิโลกรัม)                 (กรัม)                   (กิโลกรัม)

1                                            1

2                                           2                         200                               2

3                                           3                         300                               3

4 หรือมากกว่า                   4                         500                               4

สำหรับปุ๋ย แมกนีเซียมซัลแฟตและหินปูนโดโลไมท์ ให้ใช้อย่างหนึ่งอย่างใด ถ้าใช้หินปูนโดโลไมท์ ให้หว่านก่อนใส่ปุ๋ยอย่างอื่น อย่างน้อย 1 เดือน

วิธีใส่ปุ๋ย  PlEANG-30

ก่อนใส่ปุ๋ย ควรถางโคนต้นให้เตียน แล้วใช้ปุ๋ยโรยบริเวณตั้งแต่โคนต้นออกมาถึงรัศมี 1.5 เมตร โดยรอบต้น และบริเวณใส่ปุ๋ยควรขยายออกไปทุกที่

วิธีใส่ปุ๋ยมูลสัตว์  PlEANG-30

ให้กับต้นมะพร้าว ควรขุดรางรอบต้นให้ลึกประมาณ 10 เซนติเมตร กว้าง 12 เซนติเมตร  วงในห่างต้น 1 เมตร แล้วเอามูลสัตว์ที่ต้องการใส่ๆลงไปในรางที่ขุด แล้วกลบดิน

อีกวิธีหนึ่ง  ที่นิยมกัน คือ ขุดเป็นหลุม  กว้างประมาณ 30x30x30 เซนติเมตร ที่โคนต้นห่างจากลำต้น 1.5 เมตร ต้นละ 3 หลุม แล้วใส่ปุ๋ยในหลุมที่ขุด หลุมที่ขุดใส่ปุ๋ยเปลี่ยนทุกปีจนรอบต้น

การดูแลรักษาสวนมะพร้าวที่ออกผลแล้ว

วิธีการดูแลรักษามะพร้าวที่ดีและจะทำให้มะพร้าวออกผลดกมีดังนี้

1. การไถพรวน  PlEANG-30

การไถพรวน ระหว่างแถวมะพร้าวไม่ให้ลึกเกินกว่า 20 ซม. ไถแถวเว้นแถวให้ห่างจากต้นข้างละ 2เมตร ให้ไถสลับกันทุกๆ 2 ปี ฤดูที่เหมาะสมสำหรับไถพรวนคือช่วง ปลายฤดูแล้ง

2. การขุดคูระบายน้ำและการรดน้ำในฤดูแล้ง  PlEANG-30

ถ้ามีฝนตกมากและที่ปลูกป็นที่ลุ่ม น้ำท่วมแปลงปลุก ควรขุดระบายน้ำออก อย่าให้มีน้ำขังในแปลง ถ้าฝนแล้งนานเกินควรก็จะกระทบกระเทือนต่อการออกดอกออกผลของต้นมะพร้าว ดังนั้นเมื่อถึงฤดูแล้ง ถ้าที่ใดพอหาน้ำที่จะรดต้นมะพร้าวได้ ก็จะทำให้มะพร้าวงามดี ออกดอกออกผลไม่เหี่ยวเฉา น้ำที่รดต้นมะพร้าวควรใช้น้ำจืด แต่น้ำทะเลก็ใช้รดมะพร้าวได้ดี

3. การควบคุมวัชชพืชในสวนมะพร้าว  PlEANG-30

ในที่แห้งแล้งนานๆ ควรคอยถางหญ้าให้เตียนด้วยมือหรือใช้จอบหมุนตีดิน บนหน้าดิน อย่าให้ลึกกว่า 10 ซม. หรือใช้จานพรวนระหว่างแถวมะพร้าว ส่วนบริเวณที่มีฝน ต้องเก็บหญ้าหรือพืชคลุมไว้ แต่ก็ไม่ให้ขึ้นรกรุงรังมาก จึงควรมีการตัดหญ้าออกด้วยมือหรือเครื่องตัด ในที่บางแห่งที่ใช้จานพรวนลาก แต่ไม่กดให้ลึกมากเพื่อให้พืชคลุมดินหรือหญ้านั้นราบลงไปบ้าง

4.  พืชคลุมดิน  PlEANG-30

ในสวนมะพร้าวที่มีความชื้นพอควร ควรปลูกพืชคลุมดินพวกพืชตระกูลถั่ว  พืชคลุมดินแต่ละอย่างก็เหมาะกับแต่ละท้องถิ่น พืชคลุมที่นิยมมากก็มี เพอราเลีย เซ็นโทรซีมา และ คาโลโปโกเนี่ยม

5. ปุ๋ยอินทรีย์ และปุ๋ยพืชสด  PlEANG-30

จะช่วยทำให้ดินเหนียวร่วนซุยขึ้น เหมาะสำหรับการชอนไช ของรากเพื่อหาอาหารได้สะดวก นอกจากนั้น ธาตุอาหารที่มีอยู่ในอินทรีย์วัตถุ ยังช่วยทำให้แบคทีเรียในดินทำงานได้ดี ซึ่งแบคทีเรียจะช่วยเปลี่ยนธาตุอาหารที่พืชดูดไปใช้ไม่ได้ ให้มาอยู่ในรูปธาตุที่พืชดูดไปเป็นอาหารได้  การเพิ่มอินทรีย์วัตถุให้กับดิน จึงเป็นประโยชน์ต่อต้นมะพร้าวมาก

การเพิ่มอินทรีย์ วัตถุ ทำดังนี้ คือ ใส่ปุ๋ยคอก ขี้ควาย ขี้ไก่ ปุ๋ยขยะ ปุ๋ยหมัก ฝังกาบมะพร้าวหรือจะปลูกพืชคลุมแล้วไถกลบ หรือเลี้ยงสัตว์ในสวนมะพร้าวก็ได้

เปอร์เซนต์ธาตุอาหารในปุ๋ยอินทรีย์ต่างๆ

ไนโตรเจน      ฟอสฟอริคแอซิค     โปแตส         แคลเซียม

ขี้วัว ขี้ควาย              1.2                        0.6               1.2

ขี้แพะ                        2.4                        0.9               2.0

ขี้ไก่                           1.5                        6.9                2.0

กากปลา                  4.0                       4.0

กากถั่ว                     7.6                         1.3                 1.2

เถ้าไม้เผา                                               1.5                 4.0

เถ้ากากมะพร้าว                                                           10.20

ต้นโครตาเรีย            2.3              0.5                        1.5

กระดูกป่น                4.4             23.6                         41.8

เลือดแห้ง                10.5            1.2

วัสดุเหล่านี้ นำมาใช้เป็นปุ๋ยได้โดยคำนวณปริมาณธาตุอาหารให้เท่ากับที่แนะนำไว้คือ ให้มีปริมาณ   ไนโตรเจน 520 กรัม  ฟอสฟอริคแอซิค 520 กรัม  โปแตส 840 กรัม    การใส่ปุ๋ยคอก ใช้ลองก้นหลุมละประมาณ 40 กก.

ถ้าใส่ต้นมะพร้าวใหญ่ มี 2 วิธี

วิธีแรก   PlEANG-30

หว่านลงในบนดินแล้วพรวนกลบหรือใช้จอบหมุนพรวน ให้ลึกประมาณ 10 ซม. โดยให้ใส่ต้นละประมาณ 50 กก.

วิธีที่ 2  PlEANG-30

ใส่ในรางซึ่งขุดต้นมะพร้าว หรือรอบต้นมะพร้าว  แล้วใส่ปุ๋ยลงไปและกลบปุ๋ยที่ใส่ ควรใช้ปุ๋ยพืชสด การใส่ปุ๋ยควรใส่ตอนต้นฤดูฝน

การใส่ปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยขยะ  PlEANG-30

ควรใส่ในรางที่ขุดรอบต้น ห่างต้นละประมาณ 2 เมตร แล้วใส่ปุ๋ยลงไปและกลบ การขุดรางบริเวณรอบต้นอย่าขุดให้ลึก จนติดรากมากนัก อาจขุดเป็นหลุมๆแล้วใส่ก็ได้

การใช้กาบมะพร้าวเป็นปุ๋ย  PlEANG-30

เอากาบมะพร้าวใส่ในหลุมกว้าง 1 เมตร ยาว 4 เมตร ลึก 60 ซม. แล้วกลบ การฝังกาบมะพร้าวฃ่วยทำให้มะพร้าวออกผลดกขึ้น และช่วยสงวนความชื้นไว้ในดินในฤดุแล้ง กาบมะพร้าวหากนำมาเผาเป็นถ่าน จะมีธาตุโปแตส ถึงประมาณ 20 เปอร์เซนต์ แต่ต้องใช้กาบมะพร้าวใหม่ๆและ เผาด้วยไฟอ่อนๆ ในขณะที่เผาอย่าให้ไฟลุกมาก เมื่อไฟจะลุกมากก็ใส่กาบมะพร้าวใหม่ลงไป แล้วรวบรวมเถ้ามาใส่เป็นปุ๋ยซึ่งปุ๋ยเถากาบมะพร้าวใช้แทนปุ๋ย มิวริเอทออฟโปรแตชหรือโปรแตสเซียมคลอไรด์

การปลูกพืชเพื่อใช้ทำปุ๋ย  PlEANG-30

พืชที่ปลูกส่วนมากเป็นพืชตระกูลถั่ว ชนิดที่งอกงามในที่ร่ม เช่น ในสวนมะพร้าว พืชที่ปลุกเป็นพืชคลุม ได้แก่ โตรตาลาเรีย โสน และ คาโลโปโกเนียม เป็นต้น พืชเหล่านี้หลังจากปลูกแล้ว   เมื่อต้นเริ่มออกดอก ก็ตัดเอาไปใส่ในร่องซึ่งขุด สำหรับใส่ปุ๋ยหรือคลุมโคนต้น การเพิ่มอินทรีย์วัตถุให้กับดินอาจจะใช้ปุ๋ยที่หาได้ในท้องถิ่น

การใช้ปุ๋ยเคมี  PlEANG-30 

การที่เราจะทราบว่า ควรใส่ปุ๋ยให้กับต้นมะพร้าว หรืออยากทราบว่าในปัจจุบันบริเวณที่ปลุกมะพร้าวขาดธาตุอาหารอะไร วิธีการที่สะดวกและได้ผลดี คือ การเก็บเอาใบมะพร้าวไปวิเคราะห์ ผลการวิเคราะห์ใบ เป็นเปอร์เซนต์ของธาตุต่างๆ คือ  N, P,K,Ca,Mg, นำมาเปรียบเทียบ กับระดับ มาตรฐานซึ่งเรียกว่า Critical level

aln-198

ใส่ความเห็น